รับวิจัยตลาด ราคากันเอง บริการแจกแบบสอบถาม รวบรวมและประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล อาจทำลักษณะแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการสำรวจ
ทำไมต้องทำวิจัยตลาด?
บริษัทชั้นนำต่างๆ ให้ความสำคัญกับแผนก Research & Develop (R&D) เพื่อวิจัยกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งมีพฤติกรรม หรือความชอบที่เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
การวิจัยตลาด (Market Research)
เป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ อันเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง และ/หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งมักจะเป็นการรวบรวม ข้อมูลในบางรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Researchหรือที่ มักเรียกว่าการวิจัยบนโต๊ะ Desk Research ) หรือการวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ตอบคำถาม
จุดประสงค์ของโครงการวิจัยตลาดใดๆก็คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่ทำการศึกษาให้มากขึ้น จากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันการวิจัยตลาดจึงอยู่ในระเบียบวาระในหลายๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามจนการออกแบบสินค้าหรือบริการ
การวิจัยตลาดของทีมงาน ดีบีฟอบิสเนส ในด้านการวิจัยตลาด มีดังนี้
- บริการจัดทำแบบสอบถามทั้งภาษาไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ
- บริการแจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล
- บริการประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนวิธีการวิจัยมีดังนี้
- ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดชี้วัดลงไปว่ามีปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
- ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ก่อนที่จะตรวจสอบคำตอบที่แท้จริง ของคำตอบนั้นๆ
- ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) เป็นการศึกษา ค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
- ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยวิธีการทางสถิติหรือตรรกศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่า สมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่
- ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหานั้นคืออะไร
วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด
เพื่อทำการวิจัยตลาด เหล่าองค์กรอาจตัดสินใจทำโครงการวิจัยด้วยตนเอง ( บางองค์กรอาจใช้ฝ่ายการวิจัยตลาด) หรืออาจใช้บริการ บริษัทหรือที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการวิจัยใดๆก่อนที่จะทำการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้อะไรจากการวิจัยและจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง
หลังจากที่พิจารณาเรื่องของวัตถุประสงค์ การวิจัยตลาดสามารถนำเทคนิคและวิธีการวิจัยหลายๆแบบมาใช้เพื่อให้ได้้ข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเชิงข้อมูลปริมาณ (Quantitative information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative information) ซึ่งการนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย แต่ส่วนมากเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์สูงสุดหากรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงตัวเลขที่มุ่งเน้นความสนใจไปที่การวัดปรากฏการณ์ทางการตลาดและมักจะเกี่ยวเนื่องกับ การวิเคราะห์ทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารหนึ่งๆอาจขอให้ลูกค้าทำการให้คะแนนการบริการของธนาคารว่ายอดเยี่ยม ดี แย่หรือแย่มาก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถวิเคราะห์ออกมาในเชิงสถิติได้ ข้อสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ตอบคำถามทุกๆคน จะต้องได้รับคำถามชุดเดียวกัน วิธีการนี้เป็นแบบแผนอย่างมากและมักจะเกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมาก
บางทีเทคนิคเชิงปริมาณที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดคือ “การสำรวจวิจัยทางการตลาด” (market research survey) โครงการเหล่านี้เป็นโครงการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆรูปแบบ เช่น ลูกค้าหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ การสำรวจเชิง ปริมาณสามารถทำได้โดยการส่งทางไปรษณีย์ (ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองหรือ self-completion) แบบตัวต่อตัว (ตามถนนหรือที่บ้าน) ทางโทรศัพท์ อีเมล์หรือเทคนิคเวปไซด์ แบบสอบถามเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลจาก การสำรวจ แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมืออันหลากหลายที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
การวิจัยเชิงคุณภาพช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเป็นเช่นนั้นได้อย่างไรหรือเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เช่น ผู้ทำการวิจัยทางการตลาด อาจหยุดถามลูกค้าที่ซื้อขนมปังชนิดหนึ่งและถามว่าทำไมถึงเลือกซื้อขนมปังชนิดนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนการวิจัยเชิงปริมาณ เพราะการวิจัยเชิง คุณภาพไม่มีคำถามตายตัว หากมีเพียงแค่แนวทางหัวข้อ (หรือแนวทางการอภิปราย) ที่ใช้ในการสำรวจหัวข้อต่างๆแบบเจาะลึก โดย ส่วนใหญ่การสนทนาระหว่างผู้สัมภาษณ์ (หรือผู้ดำเนินการ/ Moderator) กับผู้ถูกสัมภาษณ์จะดำเนินไปตามความคิดและความรู้สึกของ ผู้ตอบคำถาม
เช่นเดียวกันกับเทคนิคเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) ก็มีอยู่หลากหลายเช่นกัน การวิจัยในรูปแบบนี้ ส่วนมากนิยมทำกันแบบตัวต่อตัว (face-to-face) และหนึ่งในเทคนิคที่รู้จักกันแพร่หลายคือ การอภิปรายกลุ่มการวิจัยตลาด (market research group discussions) (หรือเฉพาะกลุ่ม) ซึ่งมักจะประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6-8 คนกับผู้ทำการวิจัยซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องถามคำถาม และดึงเอาคำตอบออกมา กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตปฏิกิริยา และทำการบันทึกภาพหรือเสียง
เรามีผู้จัดทำแผนธุรกิจ วิจัยตลาด ที่ชำนาญการ สามารถให้คำปรึกษาได้ ราคากันเอง
โทรเพื่อรับคำแนะนำกับ คุณพัท โทร 0890541686 หรือ กรอกแบบฟอร์มติดต่อเรา